บทบาทและความสำคัญของเจ้าฟ้าทะละหะ (ปก) ของ เจ้าฟ้าทะละหะ_(ปก)

1.มีบทบาทในฐานะผู้นำทัพ ในตำแหน่ง “ออกญากลาโหม” ที่มีอำนาจในการเป็นแม่ทัพนำพลในการรบในสมรภูมิสงครามแย่งชิงอำนาจภายในกัมพูชา และสงครามกับเวียดนาม ดังปรากฏหลักฐานว่า “...จัดให้ออกญากลาโหม (ปา) เปนแม่ทัพนำพล 5000 คน ไปช่วยพระเจ้าเวียดนามรบกับญวนไกเซิน...” [9] ดังนั้นตำแหน่งออกญากลาโหม จึงถือว่าเป็นหัวใจด้านการศึกและมีความสำคัญในฐานะผู้นำทัพ ดังนั้นตำแหน่งดังกล่าวจึงมีทั้งอำนาจและกำลังที่จะคอยกำกับให้เกิดความสงบภายในกัมพูชาภายใต้การเป็นผู้อารักอภิบาลนักองค์เองที่ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ในกัมพูชา หรือการอภิบาลโอรสธิดาของพระองค์เองให้เจริญเติบโตจนกระทั่งลุชันษาดังกรณีนักองค์จันที่จะปกครองบ้านเมืองในฐานะกษัตริย์ได้ด้วยเช่นกัน

2.มีบทบาทในฐานะผู้อภิบาลและผู้สำเร็จราชการแทนกษัตริย์กัมพูชา หมายถึงการได้รับมอบหมายจากรัชกาลที่ 1 ให้ทำหน้าที่ดูแลอภิบาลนักองค์เองในตำแหน่งกษัตริย์แห่งกัมพูชา ดังปรากฏหลักฐานว่า “...ออกญาวัง ชื่อ ปก ซึ่งเปนพระบิดาเลี้ยงนั้น เลื่อนขึ้นเปนออกญากะลาโหม อยู่เฝ้ารักษาพระองค์พระบาทบรมบพิตร พระองค์เอง...”[10] รวมทั้งเมื่อเจริญวัยสมควรได้รับการให้เสด็จกลับไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินครองเขมรยังให้ออกญากลาโหม (ปก) “..ทรงอภิเษก..พระองค์เอง...เป็นพระบาทสมเด็จพระนารายน์ราชาธิราช...แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ออกญากลาโหม ปก เปนเจ้าฟ้าทะละหะ...” [11] จนกระทั่งสิ้นรัชกาล พร้อมยังเป็น “ผู้สำเร็จราชการแทน” ในตำแหน่ง “เจ้าฟ้าทะละ” ที่ทำหน้าเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระเจ้าแผ่นดินเขมร ดูแลทำนุบำรุงโอรสธิดาของนักองค์เอง เจริญเติบโตพอสมควรแก่วัยที่จะสามารถปกครองบ้านเมืองได้ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2349 รวมระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2340-2349) เจ้าฟ้าทะละหะ (ปก) ก็พานักองค์จันทร์ ซึ่งในขณะนั้น ทรงมีอายุ 16 ชันษาแล้ว การเจริญพระชันษาเติบโตของ

3. มีบทบาทในการป้องกันคุ้มครองกษัตริย์ของกัมพูชาและเกียรติยศของแผ่นดินสยามด้วยความซื่อสัตย์ จนกระทั่งถึงแก่การมรณกรรมในตำแหน่งและหน้าที่สุดท้าย กล่าวคือบทบาทและหน้าที่ในฐานะตำแหน่งออกญากลาโหมที่จะทำหน้าที่ในศึกสงคราม ทำหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองในฐานะผู้อภิบาลและผู้สำเร็จราชการที่มีหน้าที่สูงสุด แต่ทำหน้าที่ด้วยความเชื่อสัตย์สุจริต ต่อกษัตริย์เขมร ไม่ได้มีพฤติกรรมหรือการกระทำใด ๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดอำนาจเมื่อเทียบกับ “ฟ้าทะละหะ” อื่นก่อนหน้าในช่วงสงครามกลางเมืองเขมรขุนนางแย่งอำนาจกันในช่วงก่อนหน้านี้ และในเวลาเดียวกันนำกษัตริย์ไปถวายรายงานตัวเพื่อให้โปรดเกล้าอภิเษกเป็นกษัตริย์ปกครองแผ่นดินเขมรต่อมา

ใกล้เคียง

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ เจ้าฟ้าเสือห่มเมือง เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ เจ้าฟ้า เจ้าฟ้าชายวงศ์สว่าง มกุฎราชกุมารแห่งลาว เจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารีมณีไลย เจ้าฟ้าสังวาลย์ เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยสสรพรหมลือ เจ้าฟ้าอภัยทศ เจ้าฟ้าน้อย